เตรียมพร้อมอย่างไรในการเข้าสู่อาเซียน
ถ้านับจากตอนนี้ก็มีเวลาอีกเพียง 2 ปีเท่านั้น ที่ประเทศไทยในฐานะผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งประชาชนในทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาลและเอกชน ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของภาษา ที่สถาบันการศึกษาในทุกระดับต้องปรับหลักสูตรการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียน นักศึกษาไทย รวมไปถึงความพร้อมในด้านบุคลากรในส่วนงานต่างๆในด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลาง รวมไปถึงภาษาท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เช่น ภาษายาวี หรือบาฮาซา (อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน) ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาเขมร และภาษาจีน
การมีความรู้และความเข้าใจในข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด เพราะประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา ที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม
สร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทสอาเซียน เรียนรู้ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ สภาพสังคม สภาพแวดล้อมของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน
ทำความเข้าใจและศึกษาหาความรู้ในเรื่องของการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในด้านบวกและด้านลบ เพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ความเปลียนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต
"เมื่อทราบกันแล้วว่า อาเซียนจะมีผลต่อชีวิตเราอย่างไรบ้าง ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของสมาคมอาเซียนกันก่อนว่า มีที่มาอย่างไร"
ประวัติความเป็นมาของอาเซียน
สมาคมอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) มีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีของประเทศในภูมิภาค และช่วยส่งเสริมกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรม การเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจา และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือและป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาสิ่งแวดล้อม โรคระบาด เป็นต้น
ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนในช่วงเริ่มแรกนั้น ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ประเทศบรูไนได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียน ตามมาด้วยประเทศเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2538 จากนั้น อีกสองประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของไทยที่ได้เข้าร่วมคือ พม่าและลาว ใน พ.ศ. 2540 และอีกสองปีต่อมา ประเทศสุดท้ายที่ได้เข้าร่วมกลุ่มอาเซียนคือ กัมพูชา รวมแล้วเป็นประเทศที่ 10 ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์ของสมาคมอาเซียน
- สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อประโยชน์ในด้านการค้า การลงทุน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก
- เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนและของประเทศสมาชิกอาเซียน ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วิชาการ สังคมและวัฒนธรรมให้แก่ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียน
- สนับสนุนและส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียน มีความร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมประเพณี รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆที่มีประโยชน์ระหว่างประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน
- ขยายขอบเขตการค้าระหว่างประเทศอาเซียนและเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของการขนส่ง การคมนาคม การเดินทาง และเพิ่มคุณภาพของสินค้าต่างๆ ทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
- ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีในทุกๆด้าน
"เรารู้จักสมาคมอาเซียนกันแล้ว แต่ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเหมือนเสาหลักที่ช่วยค้ำจุนให้สมาคมอาเซียน มีรากฐานที่มั่นคงและจุกมุ่งหมายที่จะทำให้ทุกประเทศในอาเซียนได้รับผลประโยชน์ที่ดีในทุกๆด้าน ซึ่งเรียกกันว่า... 3 เสาหลักแห่งอาเซียน"
3 เสาหลักแห่งอาเซียน
ประชาคมอาเซียนมีส่วนประกอบสำคัญอีก 3 ประชาคมย่อย ซึ่งมีหน้าที่เหมือนกับเป็น 3 เสาหลักที่คอยเป็นรากฐานของประชาคมอาเซียน ซึ่งแต่ละเสาหมายถึงแต่ละประชาคมย่อยนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่ในทุกๆด้านของชีวิต ได้แก่
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community-ASC)
มีจุดมุ่งหมายหลักให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย สงบสุข มีสันติภาพ ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่มีอยู่ระหว่างประเทศ มีการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันเหตุร้ายต่างๆ ที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ
2. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)
ประชาคมย่อยในส่วนนี้ มุ่งเน้นในเรื่องของการให้ประชาชนในประเทศอาเซียนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีสวัสดิการทางสังคมที่มีคุณภาพรวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกในเรื่องของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ ที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน เพื่อเป็นรากฐานของความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียนด้วยกัน
3. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC)
ประชาคมย่อยสุดท้ายมีจุดมุ่งหมายไปที่ด้านการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทำให้อาเซียนป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเป็นหลัก ซึ่งจะส่งผลให้ภูมิภาคมีความก้าวหน้าและเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การค้าขาย การลงทุน การพัฒนาแรงงาน การนำเข้า-ส่งออกเกิดขึ้นได้อย่างเสรี และทำให้ประเทศในสมาชิกอาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันเรื่องของการขายสินค้าและบริการกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆได้
สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่ผู้นำอาเซียนมีความเห็นร่วมกันให้เกิดการเร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการที่สำคัญ 11 สาขาให้เป็นสาขานำร่อง โดยแบ่งให้แต่ละประเทศรับผิดชอบดูแลในสินค้าและบริการที่แตกต่างกันไป ได้แก่
ไทย : การท่องเที่ยวและการบิน
มาเลเซีย : สิ่งทอและยาง
พม่า : สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
สิงคโปร์ : เทคโนโลยีสารสนเทศและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องและการบริการด้านสุขภาพ
ฟิลิปปินส์ : อิเล็กทรอนิกส์
อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
ในปี 2550 อาเซียนได้มีการจัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญในการดำเนินการของ AEC ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็น
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
3. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดย AEC Blueprint นั้นจะใช้เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกประเทศสมาชิกได้เห็นภาพรวมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้านต่างๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการจนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2558
ความเปลียนแปลงที่สำคัญมากของไทยที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ปี 2558 ซึ่งสมาชิกในประเทศอาเซียนได้เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเป็นทางการนั้น มีหลายด้านที่เราต้องให้ความสนใจและใส่ใจ เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด ไม่ว่าจะเป็น
- ไทยจะเป้นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวและการบิน การคมนาคม การจัดการประชุม การแสดงนิทรรศการ ฯลฯ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรมต่างๆ มีความคึกคักมากขึ้น
- ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากในประเทศอาเซียน 10 ประเทศนั้น ต่างก็มีภาษาของตนเองจึงไม่สามารถใช้ภาษาของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นภาษากลางของอาเซียนได้ ดังนั้น ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางใน AEC ที่จะใช้ในการสื่อสารกับประชากรของประเทศสมาชิกอื่นๆในอาเซียน
- การค้าขายจะขยายตัวมากขึ้น ในส่วนของอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น การท่องเที่ยว การคมนาคม เป็นต้น
- ไม่มีการจัดเก็บภาษีข้ามแดน หรือที่เรียกว่าภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งจะทำให้มีการค้าขายสินค้ากันอย่างสะดวกมากขึ้น
"เห็นไหมคะว่า สมาคมอาเซียนมีความสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับเราเป็นอย่างมาก คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อจะเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบกันแล้ว ต่อไปเรามารู้จักธงและสัญลักษณ์ของอาเซียนกันเลยดีกว่าค่ะ"
ธงและสัญลักษณ์ของอาเซียน
สัญลักษณ์อาเซียน
อาเซียนมีสัญลักษณ์เป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึง การที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ มารวมตัวกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
พื้นที่วงกลมสีแดง ขอบสีขาวและสีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นเอกภาพและมีตัวอักษรคำว่า "asean" สีน้ำเงินอยู่ใต้ภาพ ที่สื่อถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง เอกภาพ สันติภาพ และความก้าวหน้าของทุกประเทศสมาชิกในอาเซียน
สีทั้งหมดที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นสีสำคัญที่ปรากฏอยู่ในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน โดย
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
5. มาเลเซีย
6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
7. สาธารณรัฐสิงคโปร์
8. ราชอาณาจักรไทย
9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
10. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ติดตามเรื่องราวอาเซียนได้ใหม่ในบทความต่อไปนะคะ ^^ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจากแหล่งต่างๆhttp://th.wikipedia.org/wikihttp://www.aseanthailand.orghttp://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/http://www.nfe.go.th/http://www.thai-aec.com/http://www.aseantalk.com/index.php?topic=22.0http://aseancorner.blogspot.com/2011/12/national-costumes-of-asean-member.htmlhttp://www.smeasean.comพนิดา อนันต์รัตนสุข : หนังสือเรียนรู้เรื่องอาเซียน
สีทั้งหมดที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นสีสำคัญที่ปรากฏอยู่ในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน โดย
สีน้ำเงิน หมายถึง สัติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ธงอาเซียน
คำขวัญอาเซียน
"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
เพลงประจำอาเซียน
"The ASEAN WAY"
Raise our flag high, sky high.
Embrace the pride in our heart.
ASEAN we are bonded as one.
Look'in out to the world.
For peace our goal from the very start and prosperity to last.
We dare to dream, We care to share.
Together for ASEAN.
We dare to dream, We care to share.
For it's the way of ASEAN.
เนื้อร้องภาษาไทย อย่างเป็นทางการ
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล
สมาชิกประเทศอาเซียน
1. บรูไน ดารุสซาลาม
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
5. มาเลเซีย
6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
7. สาธารณรัฐสิงคโปร์
8. ราชอาณาจักรไทย
9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
10. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น