วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รอบรู้ 10 ประเทศอาเซียน

1.  ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม






ชื่อทางการ  :  เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
ที่ตั้ง  :  ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว โดยแบ่งเป็น 4 เขตคือ เขต Brunei-Muara, เขต Belait, เขต Temburong และเขต Tutting
พื้นที่  :  5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวง  :  บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร  :  408,146 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น ฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจำชาติ 
วัฒนธรรม  :  การทักทายกันชาวบรูไนจะจับมือกันเบาๆ และผู้หญิงนั้นจะไม่ยื่นมือให้ผู้ชายจับก่อน




อาหารประจำชาติ  :  อัมบูยัต (Ambuyat) คล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ต้องกินกับเครื่องเคียง






การแต่งกาย  :  ผู้ชาย สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แล้วนุ่งโสร่ง ผู้หญิง แต่งกายมิดชิด ผ้าคลุมศีรษะ สวมเสื้อแขนยาว กระโปรงยาว




สกุลเงิน  :  ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar : BND)



2.  ราชอาณาจักรกัมพูชา





ชื่อทางการ  :  ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
ที่ตั้ง  :  กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดกับอ่าวไทย
พื้นที่  :  181,035 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ประชากร  :  14,805,000 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น มีฝนตกยาวนาน อุณหภูมิเฉลี่ย 20-36 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เป็นศาสนาประจำชาติ 
วัฒนธรรม  :  คล้ายกับของไทย เช่น วันลอยกระทง กัมพูชาจะเรียกว่า งานบุญอมตุก จะมีการแข่งเรือที่หน้าพระบรมมหาราชวัง




อาหารประจำชาติ  :  อาม็อก (Amok) คล้ายห่อหมกของไทย




การแต่งกาย  :  ชาวกัมพูชาจะนุ่งผ้าซัมปอต หรือผ้าทอมือ คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผู้หญิงนุ่งผ้าถุงคล้ายประเทศลาว เสื้อลูกไม้แขนยาว ห่มสไบเฉียง ผู้ชายมีสไบเฉียงไหล่ 



สกุลเงิน  :  เงินเรียล (Riel : KHR)



3.  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย





ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ที่ตั้ง  :  อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย
พื้นที่  :  1,890,754 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร  :  231,369,500 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดูคือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) 
ภาษา  :  ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ
ศาสนา  :  ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 
วัฒนธรรม  :  การแสดงประจำชาติที่โดดเด่น คือ ระบำบาร็องด๊านส์



อาหารประจำชาติ  :  กาโด กาโด (Gado Gado) ส่วนประกอบหลักคือ ผักและธัญพืชต่างๆ





การแต่งกาย  :  ผู้ชายสวมเสื้อบาติก กางเกงขายาว สวมหมวกรูปกลม นุ่งโสร่งทับกางเกง ผู้หญิงสวมเสื้อเคบย่า แขนยาวเข้ารูป ปักลวดลายฉลุ





สกุลเงิน  :  รูเปียห์ (Rupiah : IDR)



4.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว






ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic)
ที่ตั้ง  :  ทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีพรมแดนติดจีนและพม่า ทิศตะวันออกติดต่อกับเวียดนาม ทิศใต้ติดต่อกับกัมพูชา ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
พื้นที่  :  236,800 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  นครเวียงจันทร์ (Vientiane)
ประชากร  :  6,835,345 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น มีฝนตกบ้างประปราย อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
วัฒนธรรม  :  คล้ายคลึงกับคนไทยในภาคอีสาน เพราะนับถือศาสนาเดียวกันกับไทย วันสำคัญและประเพณีต่างๆทางศาสนาจึงไม่แตกต่างกัน


อาหารประจำชาติ  :  ซุปไก่ (Chicken Soup) ทานคู่กันกับข้าวเหนียว




การแต่งกาย  :  ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงเป็นลายทางพาดสไบเฉียง สวมเสื้อแขนกระบอก ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย



สกุลเงิน  :  กีบ (Kip)



5.  ประเทศมาเลเซีย






ชื่อทางการ  :  มาเลเซีย (Malaysia)
ที่ตั้ง  :  ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ส่วนที่สองคือ มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน)
พื้นที่  :  330,257 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
ประชากร  :  27,468,000 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ชาวมาเลเซียส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
วัฒนธรรม  :  มีการแสดงระบำซาปิน เป็นการฟ้อนรำหมู่ ชาย 6 คน หญิง 6 คน จับคู่เต้นด้วยกันตามเพลงที่มีจังหวะช้าแล้วเร็วขึ้น



อาหารประจำชาติ  :  นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) เป็นข้าวที่หุงด้วยใบเตยและกะทิ ทานคู่กับเครื่องเคียง




การแต่งกาย  :  ผู้ชายสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้าย ผู้หญิงสวมเสื้อคลุมแขนยาวและนุ่งผ้าซิ่น กระโปรงยาว



สกุลเงิน  :  ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)




6.  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์






ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
ที่ตั้ง  :  เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นประเทศเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
พื้นที่  :  298,170 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงมะนิลา (Manila)
ประชากร  :  92,222,660 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ถือเป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาษา  :  ภาษาฟิลิปิโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และมีภาษาตากาล็อก เป็นภาษาประจำชาติ
ศาสนา  :  ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
วัฒนธรรม  :  มีการเต้นรำที่เรียกว่า “Tinikling” คล้ายกับลาวกระทบไม้ของไทย




อาหารประจำชาติ  :  อะโดโบ้ (Adobo) ทำมาจากเนื้อหมูหรือไก่ที่หมักปรุงด้วยน้ำส้มสายชู ซีอิ้วขาว 
กระเทียมสับ  ใบกระวาน และพริกไทยดำ




การแต่งกาย  :  ผู้ชายสวมเสื้อบารอง ตากาล็อก และกางเกงขายาว ผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาวทรงบานเข้ารูป เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่




สกุลเงิน  :  เปโซ (Peso : PHP)




7.  สาธารณรัฐสิงคโปร์







ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ที่ตั้ง  :  เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮว์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่  :  ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  สิงคโปร์
ประชากร  :  5,076,700 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาพุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4%
วัฒนธรรม  :  เทศกาลตรุษจีน ในเดือนกุมภาพันธ์ เทศกาล Good Friday ในเดือนเมษายน เป็นต้น



อาหารประจำชาติ  :  ลักซา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำที่มีกะทิเป็นส่วนผสม





การแต่งกาย  :  เนื่องจากสิงคโปร์นั้นมีประชากรที่มีหลากหลายเชื้อชาติอาศัยร่วมกัน การแต่งกายจึงไม่มีชุดประจำชาติแต่จะเป็นชุดที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปเช่น ชุดเกบาย่า




สกุลเงิน  :  ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD)





8.  ราชอาณาจักรไทย








ชื่อทางการ  :  ราชอาณาจักรไทย (kingdom of Thailand)
ที่ตั้ง  :  ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับพม่าและลาว
พื้นที่  :  513,115.02 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ประชากร  :  67,354,820 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  พื้นที่ส่วนใหญ่มีอากาศค่อนข้างร้อนสลับฝนตกตามฤดูกาล
ภาษา  :  ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 95 อิสลามร้อยละ 4 และคริสต์ร้อยละ 1
วัฒนธรรม  :  ที่โดดเด่นคือการไหว้ เป็นการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ และการแสดง ออกถึงความเคารพซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังมี การฟ้อน รำ ระบำ โขน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น






อาหารประจำชาติ  :  ต้มยำกุ้ง เป็นแกงที่มีรสเผ็ดและเปรี้ยวเป็นหลัก




การแต่งกาย  :  ชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการเรียกว่า ชุดไทยพระราชนิยม ผู้ชายสวมเสื้อพระราชทาน ผู้หญิงเป็นชุดไทยมีสไบเฉียง ผ้าซิ่นมีจีบยกข้างหน้า




สกุลเงิน  :  บาท (Baht : THB)






9.  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 








ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)
ที่ตั้ง  :  เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา
พื้นที่  :  331,689 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงฮานอย (Hanoi)
ประชากร  :  90,549,390 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  เป็นแบบมรสุมเขตร้อน มีฝนตกชุกในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย 33 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษาเวียดนามเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
วัฒนธรรม  :  ได้รับอิทธิพลมาจากจีนและฝรั่งเศส มีการละเล่นหุ่นกระบอกเวียดนาม มีเฉพาะที่ฮานอย 





อาหารประจำชาติ  :  ปอเปี๊ยะเวียดนาม



การแต่งกาย  :  มีชุดอ่าวหญ่าย เป็นชุดประจำชาติ เป็นชุดผ้าไหมที่ตัดเย็บพอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน




สกุลเงิน  :  ด่อง (Dong : VND)





10.  ประเทศพม่า










ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (Republic of the Union of Myanmar)
ที่ตั้ง  :  ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน ทางตะวันออกติดกับลาว ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ดินกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่  :  676,577 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  เนปีดอ (Naypyidaw)
ประชากร  :  50,020,000 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น ฝนตกชุก โดยรวมมีอากาศคล้ายประเทศไทย
ภาษา  :  ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
วัฒนธรรม  :  ประเพณีปอยส่างลอย คือ ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณร 




อาหารประจำชาติ  :  หล่าเพ็ด (Lahpet) ทำมาจากใบชาหมัก กินคู่กับเครื่องเคียง





การแต่งกาย  :  ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี เป็นผ้าโสร่งที่สามารถใส่ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทำจากผ้าไหมมีสีสันสวยงาม แตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่น




สกุลเงิน  :  จ๊าด (Kyat : MMK)









ติดตามเรื่องราวอาเซียนได้ใหม่ในบทความต่อไปนะคะ ^^ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.aseanthailand.orghttp://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/
http://www.nfe.go.th/
http://www.thai-aec.com/
http://www.aseantalk.com/index.php?topic=22.0http://aseancorner.blogspot.com/2011/12/national-costumes-of-asean-member.html
http://www.smeasean.com
พนิดา  อนันต์รัตนสุข : หนังสือเรียนรู้เรื่องอาเซียน

"ข้อมูลทั้งหมดจัดขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้เขียนบล็อกมิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด"




ส่งแบบฝึกหัดบทที่ 4

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน  รหัสวิชา 0026 008

นางสาวสุดาทิพย์  อัตริ  54010970320 กลุ่มเรียนที่ 2


จงตอบคำถามต่อไปนี้


1. ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด 

          1) การบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล เช่น
                1.1) ฮาร์สดิส
                1.2) แฟลชไดรท์
                1.3) กล้องดิจิตอล

          2) การแสดงผล เช่น
                2.1) เครื่องพิมพ์
                2.2) จอภาพ
                2.3) ลำโพง
      
          3) การประมวลผล เช่น
                3.1) เมนบอร์ด
                3.2) ซีพียู
                3.3) เครื่องคิดเลข

          4) การสื่อสารและเครือข่าย
                4.1) อินเทอร์เน็ต
                4.2) อินทราเน็ต
                4.3) โทรศัพท์

2. ให้นิสิตเติมตัวเลขหน้าข้อความที่มีความสัมพันธ์กัน 


เลือกคำตอบ


          1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
          2. e-Revenue
          3. เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
          4. มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และ Decoder
          5. กาารใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
          6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
          7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
          8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟแวร์ประเภท
          9. CAI
          10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เติมคำตอบ


          8   ซอฟแวร์ประยุกต์
          3   Information Technology
          1   คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
          6   เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
         10  ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
          7   ซอฟแวร์ระบบ
          9   การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมิเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
          5   EDI
          4   การสื่อสารโทรคมนาคม
          2   บริการชำระภาษีออนไลน์





วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ส่งแบบฝึกหัดบทที่ 2

แบบฝึกหัดบทที่ 2 

บทบาทสารสนเทศกับสังคม                                    
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 0026 008

(1) ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆตามหัวข้อเหล่านี้ มาอย่างละ 3 รายการ

      1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา

                1. www.ceted.org/cet_media    >    ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
                2. www.educationline.net    >    บริการข้อมูลทางการศึกษาเกี่ยวกับบทเรียนต่างๆ
                3. www.eduxone.com    >    บริการระบบบริหารงานโรงเรียนและสถานศึกษา ด้วย ASP

      1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพ พาณิชย์ และสำนักงาน

                1. www.moc.go.th    >    กระทรวงพาณิชย์
                2. www.oic.or.th    >    สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
                3. www.thaitv3.com    >   สถานีโทรทัศน์ช่อง 3

      1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน

                1. การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี
                2. ด้านมัลติมิเดีย ด้านกราฟฟิก โปรแกรมต่างๆ ซอฟแวร์ ระบบวิเคราะห์ภาพ เสียง
                3. ดาวเทียม และเครือข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น

      1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม

                1. www.teenet.tei.or.th/DatabaseGIS/amatanakorn.html    >    รวบรวมโรงงานในอมตะนคร
                2. ใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนคน สำหรับงานที่เสี่ยงอันตราย เช่น การตัดส่วนโค้งต่างๆของรถยนต์
                3. www.dip.go.th    >    กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

      1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์

                1. www.health.kapook.com    >    เว็บรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ
                2. ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล เป็นระบบช่วยในด้าน Patient record หรือเวชทะเบียน ระบบข้อมูลยา การคิดเงิน เป็นต้น
                3. ระบบสาธารณสุข ช่วยในการดูแลผู้ป่วยป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยมาจากตำบลอะไร มีประชากรกี่คน เป็นชายหญิง และเด็กเท่าไร เพื่อจะได้จัดหาวัคซีนไปฉีดป้องกันได้ทันที

      1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ

                1. www.befreshstudio.com/udomsuk/send.php    >    แจ้งความออนไลน์
                2. www.moj.go.th/th/cms/detail.php    >    เว็บรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
                3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ ทางทหารมีการใช้เทคโนโลยีมีระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน

      1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม

                1. www.coe.or.th/e_engineers/coeindex.php    >    เว็บสภาวิศวกรรม
                2. www.ceat.or.th/2010/index.php    >    เว็บสมาคมวิศวกรรมปรึกษาแห่งประเทศไทย
                3. www.civilclub.net    >    เว็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับวิศวกรรม

      1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม

                1. www.kasetporpeang.com    >    เว็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรพอเพียง
                2. www.krudaeng.wikispaces.com    >    เว็บรวบรวมความรู้ต่างๆเกี่ยวกับดิน
                3. www3.cdd.go.th/kanthara/moobansadtakitHome.html    >    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา 2554

      1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่างๆ

                1. www.healthyability.com/new_version5    >    เว็บสร้างเสริมสุขภาพผู้พิการไทย
                2. www.ddc.go.th    >    ศูนย์พัฒนาอาชีพผู้พิการ
                3. www.blind.or.th    >    มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย

(2) มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง

      1.  ด้านการบริการห้องอิเล็คทรอนิกส์ที่สามารถดูหนัง หรือสารคดีที่ให้ความรู้ต่างๆ ได้ภายในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย
      2.  การให้บริการอินเตอร์เน็ต WiFi และระบบลงทะเบียน
      3.  เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อแสดงเนื้อหาหรือบทเรียนให้แก่นิสิต
      4.  ป้ายดิจิตอล เพื่อนำเสนอข้อมูลหรือประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆของมหาวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ สามแยกไฟจราจรก่อนถึงพิพิธภัณฑ์ และตั้งอยู่ทางเข้ามหาวิทยาลัยฝั่งป้ายมหาวิทยาลัย
      5.  ระบบคืนหนังสือของห้องสมุด
      6.  ด้านข้อมูลต่างๆที่จัดให้เรียนรู้ภายในห้องสมุด

(3) จากข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะนำเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง

      1.  ห้องอิเล็คทรอนิกส์ เราสามารถเข้าไปเพิ่มเติมความรู้ในเรื่องต่างๆได้มากมายผ่านเรื่องราวของสารคดี อาจเป้นการพักสมองหรือใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
      2.  เราสามารถค้นคว้าข้อมูลต่างๆได้อย่างไม่จำกัดและรวดเร็วจาก WiFi ของมหาวิทยาลัย ทำให้สะดวกมากขึ้น ไม่ต้องเดินทางไปร้านอินเตอร์เน็ตให้ยุ่งยาก เพราะคนส่วนใหญ่มีสมาทโฟนอำนวยความสะดวกอยู่แล้ว หรือนำโน้ตบุ๊คมาค้นหาข้อมูลตามอาคารเรียนก็ได้ และเป็นการลดอุบัติเหตุได้อีกด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับการไม่ประมาท  ส่วนระบบลงทะเบียน ไม่ใช่แค่เอาไว้ลงทะเบียน ดูตารางเรียน ได้เท่านั้น แต่ยังมีการสมัครรับข่าวทาง SMS ฟรี รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตัวเองอีกด้วย
      3.  เครื่องมือและอุปกรณ์ ในห้องเรียน เช่น เรียนในรายวิชานี้ 0026 008 ทำให้นิสิตเข้าใจในบทเรียนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีไมโครโฟนเพื่อกระจายเสียงให้ได้ยินอย่างทั่วถึง และจอ LCD ที่แขวนไว้ในระยะต่างๆภายในห้องเรียน เพื่อให้นิสิตได้เห็นเนื้อหาอย่างชัดเจน ไม่ต้องดูแค่หน้าจอหลัก ที่อยู่หน้าห้องเพราะอาจเลือนลางในระยะไกล 
      4.  ป้ายดิจิตอล ไม่ใช่แค่นิสิตที่ได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ต่างๆของมหาวิทยาลัย บุคคลภายนอกที่ขับขี่ผ่านไปมา ก็สามารถเห็นข่าวสารได้ 
      5.  ระบบคืนหนังสือ ทำให้เรามีเวลามากขึ้นในกิจกรรมอื่นๆ เพราะระบบคืนหนังสือใช้เวลาอาจไม่ถึง 1 นาทีด้วยซ้ำ แค่ยื่นลงกล่อง แล้วระบบก็จะทำการตรวจสอบ และไม่ต้องเกร็งเมื่อจะต้องนำหนังสือไปคืนกับพี่เจ้าหน้าที่
      6.  ภายในห้องสมุด เป็นอีกมุมหนึ่งของการพักผ่อนหย่อนใจ กับบรรยากาศอันเงียบสงบ ทำให้เรามีสมาธิมากขึ้นในการอ่านหนังสือ หรือแม้กระทั่งการค้นหาข้อมูลต่างๆที่ทางห้องสมุดได้จัดไว้ให้

สรุปประโยชน์ที่นิสิตได้

          นิสิตได้เรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศด้วยตนเอง ทำให้เข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีอย่างแน่นอน


ขอบคุณค่ะ

สวัสดีอาเซียน

เตรียมพร้อมอย่างไรในการเข้าสู่อาเซียน




          ถ้านับจากตอนนี้ก็มีเวลาอีกเพียง 2 ปีเท่านั้น ที่ประเทศไทยในฐานะผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน จะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งประชาชนในทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาลและเอกชน ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา
          โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของภาษา ที่สถาบันการศึกษาในทุกระดับต้องปรับหลักสูตรการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียน นักศึกษาไทย รวมไปถึงความพร้อมในด้านบุคลากรในส่วนงานต่างๆในด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลาง รวมไปถึงภาษาท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เช่น ภาษายาวี หรือบาฮาซา (อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน) ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาเขมร และภาษาจีน
          การมีความรู้และความเข้าใจในข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด เพราะประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา ที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม
          สร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทสอาเซียน เรียนรู้ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ สภาพสังคม สภาพแวดล้อมของประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน
          ทำความเข้าใจและศึกษาหาความรู้ในเรื่องของการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในด้านบวกและด้านลบ เพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ความเปลียนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

"เมื่อทราบกันแล้วว่า อาเซียนจะมีผลต่อชีวิตเราอย่างไรบ้าง ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของสมาคมอาเซียนกันก่อนว่า มีที่มาอย่างไร"

ประวัติความเป็นมาของอาเซียน

          สมาคมอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) มีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีของประเทศในภูมิภาค และช่วยส่งเสริมกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา และวัฒนธรรม การเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจา และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือและป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาสิ่งแวดล้อม โรคระบาด เป็นต้น
          ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนในช่วงเริ่มแรกนั้น ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ประเทศบรูไนได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียน ตามมาด้วยประเทศเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2538 จากนั้น อีกสองประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของไทยที่ได้เข้าร่วมคือ พม่าและลาว ใน พ.ศ. 2540 และอีกสองปีต่อมา ประเทศสุดท้ายที่ได้เข้าร่วมกลุ่มอาเซียนคือ กัมพูชา รวมแล้วเป็นประเทศที่ 10 ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมอาเซียน




วัตถุประสงค์ของสมาคมอาเซียน

          -  สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อประโยชน์ในด้านการค้า การลงทุน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก
          -  เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนและของประเทศสมาชิกอาเซียน ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ วิชาการ สังคมและวัฒนธรรมให้แก่ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียน
          -  สนับสนุนและส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียน มีความร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมประเพณี รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆที่มีประโยชน์ระหว่างประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน
          -  ขยายขอบเขตการค้าระหว่างประเทศอาเซียนและเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของการขนส่ง การคมนาคม การเดินทาง และเพิ่มคุณภาพของสินค้าต่างๆ ทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
          -  ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีในทุกๆด้าน

"เรารู้จักสมาคมอาเซียนกันแล้ว แต่ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเหมือนเสาหลักที่ช่วยค้ำจุนให้สมาคมอาเซียน มีรากฐานที่มั่นคงและจุกมุ่งหมายที่จะทำให้ทุกประเทศในอาเซียนได้รับผลประโยชน์ที่ดีในทุกๆด้าน ซึ่งเรียกกันว่า... 3 เสาหลักแห่งอาเซียน"

3 เสาหลักแห่งอาเซียน

          ประชาคมอาเซียนมีส่วนประกอบสำคัญอีก 3 ประชาคมย่อย ซึ่งมีหน้าที่เหมือนกับเป็น 3 เสาหลักที่คอยเป็นรากฐานของประชาคมอาเซียน ซึ่งแต่ละเสาหมายถึงแต่ละประชาคมย่อยนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่ในทุกๆด้านของชีวิต ได้แก่


      1.  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community-ASC)

                มีจุดมุ่งหมายหลักให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย สงบสุข มีสันติภาพ ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่มีอยู่ระหว่างประเทศ มีการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันเหตุร้ายต่างๆ ที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ

      2.  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)

                ประชาคมย่อยในส่วนนี้ มุ่งเน้นในเรื่องของการให้ประชาชนในประเทศอาเซียนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีสวัสดิการทางสังคมที่มีคุณภาพรวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกในเรื่องของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ ที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน เพื่อเป็นรากฐานของความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียนด้วยกัน

      3.  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC)

                ประชาคมย่อยสุดท้ายมีจุดมุ่งหมายไปที่ด้านการรวมตัวกันของประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทำให้อาเซียนป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกันเป็นหลัก ซึ่งจะส่งผลให้ภูมิภาคมีความก้าวหน้าและเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การค้าขาย การลงทุน การพัฒนาแรงงาน การนำเข้า-ส่งออกเกิดขึ้นได้อย่างเสรี และทำให้ประเทศในสมาชิกอาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันเรื่องของการขายสินค้าและบริการกับประเทศในภูมิภาคอื่นๆได้

                สำหรับกลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่ผู้นำอาเซียนมีความเห็นร่วมกันให้เกิดการเร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการที่สำคัญ 11 สาขาให้เป็นสาขานำร่อง โดยแบ่งให้แต่ละประเทศรับผิดชอบดูแลในสินค้าและบริการที่แตกต่างกันไป ได้แก่
                ไทย  :  การท่องเที่ยวและการบิน
                มาเลเซีย  :  สิ่งทอและยาง
                พม่า  :  สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
                สิงคโปร์  :  เทคโนโลยีสารสนเทศและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องและการบริการด้านสุขภาพ
                ฟิลิปปินส์  :  อิเล็กทรอนิกส์
                อินโดนีเซีย  :  ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้

                ในปี 2550 อาเซียนได้มีการจัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญในการดำเนินการของ AEC ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็น
                1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
                2. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
                3. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
                4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                โดย AEC Blueprint นั้นจะใช้เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกประเทศสมาชิกได้เห็นภาพรวมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้านต่างๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการจนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี 2558
                ความเปลียนแปลงที่สำคัญมากของไทยที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ปี 2558 ซึ่งสมาชิกในประเทศอาเซียนได้เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเป็นทางการนั้น มีหลายด้านที่เราต้องให้ความสนใจและใส่ใจ เพราะเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอย่างที่คิด ไม่ว่าจะเป็น
                -  ไทยจะเป้นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวและการบิน การคมนาคม การจัดการประชุม การแสดงนิทรรศการ ฯลฯ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โรงแรมต่างๆ มีความคึกคักมากขึ้น
                -  ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากในประเทศอาเซียน 10 ประเทศนั้น ต่างก็มีภาษาของตนเองจึงไม่สามารถใช้ภาษาของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นภาษากลางของอาเซียนได้ ดังนั้น ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางใน AEC ที่จะใช้ในการสื่อสารกับประชากรของประเทศสมาชิกอื่นๆในอาเซียน
                -  การค้าขายจะขยายตัวมากขึ้น ในส่วนของอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น การท่องเที่ยว การคมนาคม เป็นต้น
                -  ไม่มีการจัดเก็บภาษีข้ามแดน หรือที่เรียกว่าภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งจะทำให้มีการค้าขายสินค้ากันอย่างสะดวกมากขึ้น

"เห็นไหมคะว่า สมาคมอาเซียนมีความสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องกับเราเป็นอย่างมาก คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อจะเป็นประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบกันแล้ว ต่อไปเรามารู้จักธงและสัญลักษณ์ของอาเซียนกันเลยดีกว่าค่ะ"

ธงและสัญลักษณ์ของอาเซียน

สัญลักษณ์อาเซียน



          อาเซียนมีสัญลักษณ์เป็นรวงข้าวสีเหลือง 10 มัด หมายถึง การที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ มารวมตัวกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
          พื้นที่วงกลมสีแดง ขอบสีขาวและสีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นเอกภาพและมีตัวอักษรคำว่า "asean" สีน้ำเงินอยู่ใต้ภาพ ที่สื่อถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง เอกภาพ สันติภาพ และความก้าวหน้าของทุกประเทศสมาชิกในอาเซียน
          สีทั้งหมดที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นสีสำคัญที่ปรากฏอยู่ในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน  โดย

       
                  สีน้ำเงิน หมายถึง สัติภาพและความมั่นคง
                  สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
                  สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
                  สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง




ธงอาเซียน

       


คำขวัญอาเซียน
"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)


เพลงประจำอาเซียน
"The ASEAN WAY"


Raise  our  flag  high, sky  high.
Embrace  the  pride  in  our  heart.
ASEAN  we  are  bonded  as  one.
Look'in  out  to  the  world.
For  peace  our  goal  from  the  very  start  and  prosperity  to  last.
We  dare  to  dream, We  care  to  share.
Together  for  ASEAN.
We  dare  to  dream, We  care  to  share.
For  it's  the  way  of  ASEAN.

เนื้อร้องภาษาไทย อย่างเป็นทางการ

พลิ้วลู่ลม  โบกสะบัด
ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่งสัญญาใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
หล่อหลอมจิตใจ
ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้
มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล





สมาชิกประเทศอาเซียน

1. บรูไน ดารุสซาลาม
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
5. มาเลเซีย
6. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
7. สาธารณรัฐสิงคโปร์
8. ราชอาณาจักรไทย
9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
10. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า


"เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะรู้จักกับอาเซียนแล้วใช่ไหม อาเซียนสำคัญต่อตัวเอรามากมายเพราะฉนั้นแล้ว เรามาเตรียมตัวที่จะเข้าสู่อาเซียนกันเถอะค่ะ"






ติดตามเรื่องราวอาเซียนได้ใหม่ในบทความต่อไปนะคะ ^^ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจากแหล่งต่างๆhttp://th.wikipedia.org/wikihttp://www.aseanthailand.orghttp://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/http://www.nfe.go.th/http://www.thai-aec.com/http://www.aseantalk.com/index.php?topic=22.0http://aseancorner.blogspot.com/2011/12/national-costumes-of-asean-member.htmlhttp://www.smeasean.comพนิดา  อนันต์รัตนสุข : หนังสือเรียนรู้เรื่องอาเซียน

"ข้อมูลทั้งหมดจัดขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้เขียนบล็อกมิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด"