วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ดอกไม้ประจำชาติประเทศอาเซียน

ดอกไม้ประจำชาติ 



1.  ประเทศบรูไน



ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia)




2.  ประเทศกัมพูชา



ดอกลำดวน (Rumdul)




3.  ประเทศอินโดนีเซีย



ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)




4.  ประเทศลาว




ดอกจำปาลาว (Dok Champa)




5.  ประเทศมาเลเซีย



ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ 

หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง




6.  ประเทศฟิลิปปินส์



ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine)




7.  ประเทศสิงคโปร์



ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim)





8.  ประเทศไทย



ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน





9.  ประเทศเวียดนาม



ดอกบัว (Lotus)





10.  ประเทศพม่า



ดอกประดู่ (Paduak)





























ติดตามเรื่องราวอาเซียนได้ใหม่ในบทความต่อไปนะคะ ^^ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.aseanthailand.orghttp://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/
http://www.nfe.go.th/
http://www.thai-aec.com/
http://www.aseantalk.com/index.php?topic=22.0http://aseancorner.blogspot.com/2011/12/national-costumes-of-asean-member.html
http://www.smeasean.com
พนิดา  อนันต์รัตนสุข : หนังสือเรียนรู้เรื่องอาเซียน

"ข้อมูลทั้งหมดจัดขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้เขียนบล็อกมิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด"







เพลงชาติประเทศอาเซียน แปลไทย

เพลงชาติประเทศอาเซียน


1.  ชาติบรูไน


 ชื่อเพลง  "อัลเลาะห์ เปอลิฮารากัน"


ขอพระอัลเลาะห์ทรงอวยพรแด่พระองค์
จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
จงทรงปกครองราชอาณาจักรโดยธรรมและความสง่างาม
และจงทรงนำปวงชนให้เป็นสุขอยู่ชั่วกาลนานเทอญ
ขอสันติภาพจงมีแด่ราชรัฐและองค์สุลต่าน
ขอพระผู้เป็นเจ้าของข้าได้ทรงพิทักษ์บรูไน นครแห่งสันติด้วยเถิด



2.  ชาติกัมพูชา


ชื่อเพลง "นครราช"


ขอพวกเทวดา รักษามหากษัตริย์เรา
ให้ได้รุ่งเรือง โดยชัยมงคลศรีสวัสดี
เราข้าพระองค์ ขอพำนักใต้ร่มพระบารมี
ในพระนรบดี วงศ์กษัตราซึ่งสร้างปราสาทหิน
ครอบครองแดนเขมร โบราณเลื่องลือฯ



3.  ชาติอินโดนีเซีย


ชื่อเพลง "อินโดเนเซีย รายา"


อินโดนีเซีย มาตุภูมิของข้า 
แผ่นดินที่ข้ายอมพลีโลหิต
ณ ที่นั้นข้าขอหยัดยืน 
เพื่อปกป้องมาตุภูมิ 
อินโดนีเซียประชาชาติของข้า
ประชาชนและมาตุภูมิของข้า 
มาเถิดเราจงตะโกนก้อง
"อินโดนีเซียจงเป็นเอกภาพ"
แผ่นดินของข้า จงเจริญ
ประเทศของข้า จงเจริญ
และรวมถึงประชาชาติของข้าทั้งผอง
ตื่นเถิดดวงวิญญาณ
ตื่นเถิดสังขารของปวงประชา
เพื่ออินโดนีเซียอันยิ่งใหญ่
(*ประสานเสียง)
อินโดนีเซียอันยิ่งใหญ่ เอกราช เอกราช
แผ่นดินข้า ประเทศข้า ที่ข้ารัก
อินโดนีเซียอันยิ่งใหญ่ เอกราช เอกราช
จงเจริญเถิด อินโดนีเซียอันยิ่งใหญ่



4.  ชาติลาว


ชื่อเพลง  "เพงซาดลาว"


ชาติลาวตั้งแต่ใดมา
ลาวทุกถ้วนหน้าเชิดชูสุดใจ
ร่วมแรงร่วมจิตร่วมใจ
สามัคคีกันเป็นกำลังเดียว
เด็ดเดี่ยวพร้อมกันก้าวหน้า
บูชาชูเกียรติของลาว
ส่งเสริมใช้สิทธิ์เป็นเจ้า
ลาวทุกชนเผ่าเสมอภาพกัน
บ่ให้พวกจักรพรรดิ์
และพวกขายชาติเข้ามารบกวน
ลาวทั้งมวลชูเอกราช
อิสรภาพของชาติลาวไว้
ตัดสินใจสู้ชิงเอาชัย
พาชาติลาวไปสู่ความวัฒนา



5.  ชาติมาเลเซีย


ชื่อเพลง  "เนการากู"


แผ่นดินของข้า คือผืนดินถิ่นเกิด
ผองประชาพำนัก ด้วยรักสามัคคี ก้าวหน้า
จงประสพสุขล้วน ขอพระเจ้าทรงอำนวยพร
ขอองค์ราชา ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม
จงประสพสุขล้วน ขอพระเจ้าทรงอำนวยพร
ขงองค์ราชา ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม




6.  ชาติฟิลิปปินส์


ชื่อเพลง  "ลูปังฮินิรัง"


แผ่นดินที่รักยิ่ง ไข่มุกแดนบูรพา
ศรัทธาอันเปี่ยมล้นของหัวใจ
ในใจเธอยังคงอยู่เสมอ
แผ่นดินที่ถูกเลือกสรรเอย
เธอคือถิ่นกำเนิดของผู้กล้า
แด่เหล่าผู้พิชิต เธอจะต้องไม่ยอมพ่ายผู้ใด
ทั่วทั้งท้องทะเลและขุนเขา
ทั่วทั้งในอากาศและฟ้าครามของเธอ
มีความงดงามในบทกวี 
และบทเพลงแด่เสรีภาพที่รักยิ่ง
ประกายแห่งธงของเธอ 
ส่องสว่างซึ่งชัยชนะ
ดวงดาราและตะวันในธง 
จะมิอับแสงลงตลอดกาล
แดงแห่งรุ่งอรุณ เกียรติศักดิ์
และความรักใคร่ของเราเอย
ชีวิตคือสวรรค์ในอ้อมแขนเธอ
ยามเมื่อใครมาย่ำยี เรายินดี
ยอมตายเพื่อเธอ



7.  ชาติสิงคโปร์



ชื่อเพลง  "มาจูละห์ ซึงาปูรา"


มาเถิด เราชาวสิงคโปร์ทั้งหลาย
มาร่วมมุ่งหน้าสู่ความสุขร่วมกัน
ขอความปรารถนาอันทรงเกียรติของเรานั้นจงดล
ให้ประเทสสิงคโปร์ประสบผลสำเร็จ
มาเถิด เรามาสามัคคีกัน
ในจิตวิญญาณดวงใหม่
เราผองจงตะโกนก้องว่า
สิงคโปร์จงเจริญ
สิงคโปร์จงเจริญ



8.  ชาติไทย


ชื่อเพลง  "เพลงชาติไทย"


ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย




9.  ชาติเวียดนาม


ชื่อเพลง  "มาร์ชทหารเวียดนาม"


ทหารเวียดนามทั้งหลาย รุกไปข้างหน้า!
ด้วยใจเด็ดเดี่ยวในการพิทักษ์มาตุภูมิ
เสียงฝีเท้าที่เร่งเร้าดังก้องทั่วท้องถนนอันยาวไกลและทุรกันดาร
จิตวิญญาณของชาติสถิตในธงแดงอาบเลือดแห่งชัยชนะ
เสียงปืนที่กระหน่ำยาวนานสอดประสานไปกับเสียงเพลงเดินทัพ
หนทางสู่ความรุ่งเรืองของเราทอดทับบนซากศพของเหล่าศัตรู
มาฝ่าฟันความทุกข์ยากนานัปประการ แล้วร่วมสร้างที่มั่นต้านข้าศึก
จงสู้เพื่อจุดมุ่งหมายของผองชนอย่างไม่ลดละ
เร่งเข้าสู่สมรภูมิกันเถอะ!
รุกไปข้างหน้า! ทุกคนรุกไปข้างหน้า!
เวียดนามของเราอยู่ยืนยงชั่วกัปกัลป์




10.  ชาติพม่า


ชื่อเพลง  "คาบา มา จึ"


แห่งหนที่ปรากฏทั่วซึ่งความเป็นธรรมและเอกราช
ประเทศของเรา...แผ่นดินของเรา
แห่งหนที่ปรากฏทั่วซึ่งสิทธิอันเท่าเทียมและแนวทางที่ถูกต้อง
นำพาประชาชนไปสู่ชีวิตที่สงบสุข
ประเทศของเรา...แผ่นดินของเรา
ความเป็นสหภาพอันเป็นมรดกตกทอดสืบมา
เราขอปฏิญาณเพื่อพิทักษ์สิ่งนี้ไว้มั่น ตราบชั่วกัลปาวสาน
ตราบโลกแหลกสลาย แผ่นดินพม่าจงคงอยู่ต่อไป
เรารักและเทิดทูนบ้านเมือง เพราะนี่คือมรดกที่แท้จริงจากบรรพชน
เราจักสละชีพเพื่อปกป้องสหภาพของเราไว้
นี่คือชาติของเรา แผ่นดินของเรา ซึ่งพวกเราเป็นเจ้าของ
เราจะแบกรับภาระเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและแผ่นดิน
นี่คือหน้าที่ที่เราพึงทำเพื่อแผ่นดินอันทรงคุณค่าแห่งนี้




















ติดตามเรื่องราวอาเซียนได้ใหม่ในบทความต่อไปนะคะ ^^ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.aseanthailand.orghttp://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/
http://www.nfe.go.th/
http://www.thai-aec.com/
http://www.aseantalk.com/index.php?topic=22.0http://aseancorner.blogspot.com/2011/12/national-costumes-of-asean-member.html
http://www.smeasean.com
พนิดา  อนันต์รัตนสุข : หนังสือเรียนรู้เรื่องอาเซียน

"ข้อมูลทั้งหมดจัดขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้เขียนบล็อกมิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด"







วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รอบรู้ 10 ประเทศอาเซียน

1.  ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม






ชื่อทางการ  :  เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
ที่ตั้ง  :  ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว โดยแบ่งเป็น 4 เขตคือ เขต Brunei-Muara, เขต Belait, เขต Temburong และเขต Tutting
พื้นที่  :  5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
เมืองหลวง  :  บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ประชากร  :  408,146 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น ฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาประจำชาติ 
วัฒนธรรม  :  การทักทายกันชาวบรูไนจะจับมือกันเบาๆ และผู้หญิงนั้นจะไม่ยื่นมือให้ผู้ชายจับก่อน




อาหารประจำชาติ  :  อัมบูยัต (Ambuyat) คล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ต้องกินกับเครื่องเคียง






การแต่งกาย  :  ผู้ชาย สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แล้วนุ่งโสร่ง ผู้หญิง แต่งกายมิดชิด ผ้าคลุมศีรษะ สวมเสื้อแขนยาว กระโปรงยาว




สกุลเงิน  :  ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar : BND)



2.  ราชอาณาจักรกัมพูชา





ชื่อทางการ  :  ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
ที่ตั้ง  :  กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดกับอ่าวไทย
พื้นที่  :  181,035 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ประชากร  :  14,805,000 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น มีฝนตกยาวนาน อุณหภูมิเฉลี่ย 20-36 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เป็นศาสนาประจำชาติ 
วัฒนธรรม  :  คล้ายกับของไทย เช่น วันลอยกระทง กัมพูชาจะเรียกว่า งานบุญอมตุก จะมีการแข่งเรือที่หน้าพระบรมมหาราชวัง




อาหารประจำชาติ  :  อาม็อก (Amok) คล้ายห่อหมกของไทย




การแต่งกาย  :  ชาวกัมพูชาจะนุ่งผ้าซัมปอต หรือผ้าทอมือ คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผู้หญิงนุ่งผ้าถุงคล้ายประเทศลาว เสื้อลูกไม้แขนยาว ห่มสไบเฉียง ผู้ชายมีสไบเฉียงไหล่ 



สกุลเงิน  :  เงินเรียล (Riel : KHR)



3.  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย





ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ที่ตั้ง  :  อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย
พื้นที่  :  1,890,754 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร  :  231,369,500 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดูคือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) 
ภาษา  :  ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ
ศาสนา  :  ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 
วัฒนธรรม  :  การแสดงประจำชาติที่โดดเด่น คือ ระบำบาร็องด๊านส์



อาหารประจำชาติ  :  กาโด กาโด (Gado Gado) ส่วนประกอบหลักคือ ผักและธัญพืชต่างๆ





การแต่งกาย  :  ผู้ชายสวมเสื้อบาติก กางเกงขายาว สวมหมวกรูปกลม นุ่งโสร่งทับกางเกง ผู้หญิงสวมเสื้อเคบย่า แขนยาวเข้ารูป ปักลวดลายฉลุ





สกุลเงิน  :  รูเปียห์ (Rupiah : IDR)



4.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว






ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic)
ที่ตั้ง  :  ทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีพรมแดนติดจีนและพม่า ทิศตะวันออกติดต่อกับเวียดนาม ทิศใต้ติดต่อกับกัมพูชา ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
พื้นที่  :  236,800 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  นครเวียงจันทร์ (Vientiane)
ประชากร  :  6,835,345 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น มีฝนตกบ้างประปราย อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
วัฒนธรรม  :  คล้ายคลึงกับคนไทยในภาคอีสาน เพราะนับถือศาสนาเดียวกันกับไทย วันสำคัญและประเพณีต่างๆทางศาสนาจึงไม่แตกต่างกัน


อาหารประจำชาติ  :  ซุปไก่ (Chicken Soup) ทานคู่กันกับข้าวเหนียว




การแต่งกาย  :  ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงเป็นลายทางพาดสไบเฉียง สวมเสื้อแขนกระบอก ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย



สกุลเงิน  :  กีบ (Kip)



5.  ประเทศมาเลเซีย






ชื่อทางการ  :  มาเลเซีย (Malaysia)
ที่ตั้ง  :  ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ส่วนที่สองคือ มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน)
พื้นที่  :  330,257 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
ประชากร  :  27,468,000 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ชาวมาเลเซียส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
วัฒนธรรม  :  มีการแสดงระบำซาปิน เป็นการฟ้อนรำหมู่ ชาย 6 คน หญิง 6 คน จับคู่เต้นด้วยกันตามเพลงที่มีจังหวะช้าแล้วเร็วขึ้น



อาหารประจำชาติ  :  นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) เป็นข้าวที่หุงด้วยใบเตยและกะทิ ทานคู่กับเครื่องเคียง




การแต่งกาย  :  ผู้ชายสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหมหรือผ้าฝ้าย ผู้หญิงสวมเสื้อคลุมแขนยาวและนุ่งผ้าซิ่น กระโปรงยาว



สกุลเงิน  :  ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)




6.  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์






ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
ที่ตั้ง  :  เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นประเทศเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
พื้นที่  :  298,170 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงมะนิลา (Manila)
ประชากร  :  92,222,660 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ถือเป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาษา  :  ภาษาฟิลิปิโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และมีภาษาตากาล็อก เป็นภาษาประจำชาติ
ศาสนา  :  ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
วัฒนธรรม  :  มีการเต้นรำที่เรียกว่า “Tinikling” คล้ายกับลาวกระทบไม้ของไทย




อาหารประจำชาติ  :  อะโดโบ้ (Adobo) ทำมาจากเนื้อหมูหรือไก่ที่หมักปรุงด้วยน้ำส้มสายชู ซีอิ้วขาว 
กระเทียมสับ  ใบกระวาน และพริกไทยดำ




การแต่งกาย  :  ผู้ชายสวมเสื้อบารอง ตากาล็อก และกางเกงขายาว ผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาวทรงบานเข้ารูป เสื้อแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่




สกุลเงิน  :  เปโซ (Peso : PHP)




7.  สาธารณรัฐสิงคโปร์







ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ที่ตั้ง  :  เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮว์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่  :  ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  สิงคโปร์
ประชากร  :  5,076,700 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาพุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4%
วัฒนธรรม  :  เทศกาลตรุษจีน ในเดือนกุมภาพันธ์ เทศกาล Good Friday ในเดือนเมษายน เป็นต้น



อาหารประจำชาติ  :  ลักซา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำที่มีกะทิเป็นส่วนผสม





การแต่งกาย  :  เนื่องจากสิงคโปร์นั้นมีประชากรที่มีหลากหลายเชื้อชาติอาศัยร่วมกัน การแต่งกายจึงไม่มีชุดประจำชาติแต่จะเป็นชุดที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปเช่น ชุดเกบาย่า




สกุลเงิน  :  ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD)





8.  ราชอาณาจักรไทย








ชื่อทางการ  :  ราชอาณาจักรไทย (kingdom of Thailand)
ที่ตั้ง  :  ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับพม่าและลาว
พื้นที่  :  513,115.02 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ประชากร  :  67,354,820 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  พื้นที่ส่วนใหญ่มีอากาศค่อนข้างร้อนสลับฝนตกตามฤดูกาล
ภาษา  :  ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 95 อิสลามร้อยละ 4 และคริสต์ร้อยละ 1
วัฒนธรรม  :  ที่โดดเด่นคือการไหว้ เป็นการทักทาย การขอบคุณ การขอโทษ และการแสดง ออกถึงความเคารพซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังมี การฟ้อน รำ ระบำ โขน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น






อาหารประจำชาติ  :  ต้มยำกุ้ง เป็นแกงที่มีรสเผ็ดและเปรี้ยวเป็นหลัก




การแต่งกาย  :  ชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการเรียกว่า ชุดไทยพระราชนิยม ผู้ชายสวมเสื้อพระราชทาน ผู้หญิงเป็นชุดไทยมีสไบเฉียง ผ้าซิ่นมีจีบยกข้างหน้า




สกุลเงิน  :  บาท (Baht : THB)






9.  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 








ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)
ที่ตั้ง  :  เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา
พื้นที่  :  331,689 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  กรุงฮานอย (Hanoi)
ประชากร  :  90,549,390 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  เป็นแบบมรสุมเขตร้อน มีฝนตกชุกในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย 33 องศาเซลเซียส
ภาษา  :  ภาษาเวียดนามเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
วัฒนธรรม  :  ได้รับอิทธิพลมาจากจีนและฝรั่งเศส มีการละเล่นหุ่นกระบอกเวียดนาม มีเฉพาะที่ฮานอย 





อาหารประจำชาติ  :  ปอเปี๊ยะเวียดนาม



การแต่งกาย  :  มีชุดอ่าวหญ่าย เป็นชุดประจำชาติ เป็นชุดผ้าไหมที่ตัดเย็บพอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน




สกุลเงิน  :  ด่อง (Dong : VND)





10.  ประเทศพม่า










ชื่อทางการ  :  สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (Republic of the Union of Myanmar)
ที่ตั้ง  :  ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน ทางตะวันออกติดกับลาว ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ดินกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่  :  676,577 ตารางกิโลเมตร 
เมืองหลวง  :  เนปีดอ (Naypyidaw)
ประชากร  :  50,020,000 คน (ข้อมูลประชากรโลกปี 2554)
ภูมิอากาศ  :  ร้อนชื้น ฝนตกชุก โดยรวมมีอากาศคล้ายประเทศไทย
ภาษา  :  ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา  :  ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
วัฒนธรรม  :  ประเพณีปอยส่างลอย คือ ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณร 




อาหารประจำชาติ  :  หล่าเพ็ด (Lahpet) ทำมาจากใบชาหมัก กินคู่กับเครื่องเคียง





การแต่งกาย  :  ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี เป็นผ้าโสร่งที่สามารถใส่ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทำจากผ้าไหมมีสีสันสวยงาม แตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่น




สกุลเงิน  :  จ๊าด (Kyat : MMK)









ติดตามเรื่องราวอาเซียนได้ใหม่ในบทความต่อไปนะคะ ^^ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ

http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.aseanthailand.orghttp://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/
http://www.nfe.go.th/
http://www.thai-aec.com/
http://www.aseantalk.com/index.php?topic=22.0http://aseancorner.blogspot.com/2011/12/national-costumes-of-asean-member.html
http://www.smeasean.com
พนิดา  อนันต์รัตนสุข : หนังสือเรียนรู้เรื่องอาเซียน

"ข้อมูลทั้งหมดจัดขึ้นเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้เขียนบล็อกมิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด"